วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2555


สรุปงานวิจัย

จากงานวิจัยชินนี้การของนักเรียนมากมากขึ้น นิยมบริโภคขนมซองที่มีแป้งและไขมันปริมาณมาก โดยบริโภคเฉลี่ยวันละ 3-4 ครั้ง ส่วนเครื่องดื่มที่นิยมบริโภคมากที่สุด คือ น้ำอัดลม กินพวกอย่างนี้กันมาก เลยขาดโภชนาการ ดังนั้นการมีภาวะโภชนาการที่ดีและถูกต้อง นอกจากผู้ปกครองจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องนี้ดีแล้ว กุมารแพทย์หรือนักโภชนาการเองก็จะต้องมีการรณรงค์ให้ความรู้และให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเลือกชนิดและปริมาณอาหารว่างและขนมอย่างถูกต้อง




   งานวิจัยชั้นเรียน วิชาสุขศึกษาและพลศึกษา รหัสวิชา พ11101 ภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา 2554
โดยมาสเตอร์จงดี สินบูรพา รหัสประจำตัว 10412
เรื่อง ปัญหาภาวะโรคอ้วนในเด็กประถมศึกษาปีที่1 /3 โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี
สภาพของปัญหา
การบริโภคอาหารมื้อหลักของคนเราจำเป็นต้องบริโภคให้ครบทั้ง 3 มื้อ และสมดุลกันระหว่างอาหารทั้ง 5 หมู่ โดยเฉพาะวัยเด็กที่ต้องการพลังงานและสารอาหารในการเจริญเติบโต อาหารว่างและขนมจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญ เป็นส่วนเสริมให้เด็กได้รับสารอาหารที่มีคุณค่าที่จำเป็นต่อร่างกาย อย่างไรก็ตามปัจจุบันอาหารว่างและขนมส่วนใหญ่มักมีแป้ง น้ำตาล และไขมันเป็นส่วนประกอบหลัก ซึ่งให้เพียงพลังงาน แต่มีสารอาหารอื่นที่จำเป็นค่อนข้างน้อย จึงอาจส่งผลต่อภาวะโภชนาการและการเจริญเติบโตของเด็กได้

วัตถุประสงค์ในการวิจัย

เพื่อแก้ปัญหาภาวะโรคอ้วนในเด็กประถมศึกษาปีที่ 1/3 โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี
จากการทดสอบสมรรถภาพทางกาย ชั่งน้ำหนัก และวัดส่วนสูง ทำให้รู้ถึงเด็กที่มีภาวะโรคอ้วน 2 คน คือ ด.ช.ณัฐธเดชน์ แหงมงาม และ ด.ช.วัฒนา บัณฑิตย์นพรัตน์ ชั้นป.1/3 ที่มีภาวะโรคอ้วน คือน้ำนักมากเกินมาตรฐานที่กำหนด จากปัญหาเหล่านี้จึงทำให้เด็กนักเรียนประถมศีกษาปีที่ 1/3 มีภาวะโรคอ้วน ผู้วิจัยจึงนำเด็กทั้ง 2 คนนี้มาทำการลดไขมันส่วนที่เกินออก เพื่อให้มีร่างกายที่สมส่วน โดยการให้เด็กทั้ง 2 คนนี้ ออกกำลังกาย ด้วยการวิ่ง กระโดดตบ ซิทอัพในช่วงเวลาพักกลางวันทุกวัน เป็นเวลา 1 เดือน ปรากฏว่าน้ำหนักทั้ง 2 จาก46 กิโลกรัม ลดเหลือ 43
กิโลกรัม และอีกคนจาก 48 กิโลกรัม ลดเหลือ 45 กิโลกรัม ซึ่งจากการนำเด็กทั้ง2 คนนี้มาทำการออกกำลังกาย ภายในเดือนเดียว สามารถลดน้ำหนักได้ถึงคนละ 3 กิโลกรัม และถ้าสามารถทำได้เป็นประจำต่อเนื่อง ปัญหาภาวะโรคอ้วนของเด็กทั้ง 2 คนนี้ก็จะหายไป และกลับมาเป็นเด็กที่มีน้ำหนักตัวสมส่วน และสุขภาพแข็งแรงเหมือนคนปกติได้

ประโยชน์ที่จะได้รับ
1.ได้ทราบปัญหาของเด็กนักเรียนที่มีภาวะโรคอ้วนระดับประถมศึกษาปีที่ 1 /3 โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี
2.นำปัญหานี้มาใช้แก้ไข และพัฒนาเด็กที่มีภาวะโรคอ้วน ให้มีรูปร่างสมส่วนต่อไป และมีสุขภาพกาย และใจที่สมบูรณ์ต่อไปในวันข้างหน้า

วิธีการดำเนินการวิจัย
ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ดำเนินการนำผลจากการทดสอบสมรรถภาพทางกาย และการชั่งน้ำหนักส่วนสูง มาใช้ทำวิจัยในครั้งนี้



กลุ่มประชากร
กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/3 จำนวน 2 คนที่ผลจากการทดสอบสมรรถภาพทางกายในปี 2554 นี้ ผลสรุปว่ามีภาวะโรคอ้วน และควรที่จะนำมาเพื่อแก้ปัญหาในการออกกำลังกายตามกำหนดเวลา 1 เดือน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1.การวิ่ง 30 เมตรไปกลับวันละ 10 รอบ
2.กระโดดตบ วันละ 100 ครั้ง
3. ซิทอัพวันละ 10 -20 ครั้ง

การเก็บข้อมูล

ในการเก็บข้อมูล วิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ใช้เวลาช่วงพักกลางวัน ของวันจันทร์ถึงวันศุกร์ เป็นระยะเวลา 1 เดือน
คนที่มีภาวะอ้วน คือผู้ที่มีไขมันที่ไม่ดีต่อสุขภาพในอัตราส่วนที่สูงในร่างกาย วิธีการวัดภาวะโรคอ้วนโดยมากจะคำนวณจากน้ำหนักและส่วนสูง ที่เรียกว่า "ดัชนีมวลกาย
หรือ body mass index (BMI)"
ค่า BMI คืออัตราส่วนระหว่าง
นอกจากนี้ค่า BMI ยังแสดงถึงภาวะอ้วนหรือภาวะน้ำหนักเกินได้แม่ยำกว่าการประเมินจากน้ำหนักอย่างเดียว แนวทางการประเมินค่า BMI ในผู้ที่มีอายุมากกว่า
หรือเท่ากับ 20 ปี มีดังนี้
<18.5
ผอม (underweight)
18.5-24.9
สมส่วน (healthy)
25-29.9
น้ำหนักเกิน (overweight)
>30
ภาวะอ้วน (obese)
แผนภูมิแสดงการวัดค่า BMI จากน้ำหนักและส่วนสูงในผู้ที่อายุมากกว่าหรือเท่ากับ 20 ปี




เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่รูปร่างสมส่วนแล้ว ผู้ที่น้ำหนักเกินหรือภาวะอ้วนมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคต่าง ๆ มากขึ้น ได้แก่ โรคเบาหวาน, โรคความดันโลหิตสูง,
โรคหัวใจหลอดเลือด, โรคหลอดเลือดสมอง และโรคมะเร็ง นอกจากนี้ยังทำให้อายุขัยสั้นลงด้วย

สรุปผลและข้อเสนอแนะ
จากการศึกษาพบว่ากลุ่มเป้าหมายการวิจัยคือเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/3 มีพฤติกรรมทางโภชนาการที่น่าเป็นห่วง คือ นิยมบริโภคขนมซองที่มีแป้งและไขมันปริมาณมาก โดยบริโภคเฉลี่ยวันละ 3-4 ครั้ง ส่วนเครื่องดื่มที่นิยมบริโภคมากที่สุด คือ น้ำอัดลม
โดยเฉลี่ยเด็กได้รับพลังงานจากขนมและอาหารว่างประมาณ 495 กิโลแคลอรี หรือเทียบเท่าร้อยละ 30 ของพลังงานที่ต้องการต่อวัน ซึ่งมากกว่าปริมาณมาตรฐานที่ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทยกำหนดไว้ ซึ่งจะส่งผลให้ร่างกายเปลี่ยนพลังงานส่วนเกินนี้เป็นไขมันได้

ดังนั้นการมีภาวะโภชนาการที่ดีและถูกต้อง นอกจากผู้ปกครองจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องนี้ดีแล้ว กุมารแพทย์หรือนักโภชนาการเองก็จะต้องมีการรณรงค์ให้ความรู้และให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเลือกชนิดและปริมาณอาหารว่างและขนมอย่างถูกต้อง นอกจากนี้ก็ควรเน้นเรื่องอาหารหลักที่รับประทาน การปรับกิจวัตรประจำวันและการออกกำลังกายให้เหมาะสมควบคู่กันไปด้วย เพื่อให้เด็กมีภาวะโภชนาการที่ดี หลีกเลี่ยงโรคอ้วนหรือภาวะผอมซึ่งส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการต่อไปนั่นเอง